การตรวจบุคคลในวงกว้างสามารถหยุดการระบาดของไวรัสโคโรนาได้

Chen Shen และ Yaneer Bar-Yam การตรวจหาเชื้อในวงกว้างสามารถหยุดยั้งการระบาดของไวรัสโคโรนาได้ New England Complex Systems Institute (6 มีนาคม 2563)

โรคจะหยุดระบาดก็ต่อเมื่อเราหยุดการแพร่เชื้อโรคได้ กลยุทธ์สำคัญคือการระบุตัวบุคคลที่ติดโรคและแยกพวกเขาออกไปเพื่อไม่ให้ผู้อื่นติดเชื้อ การทดสอบที่ไม่สมบูรณ์อาจทำให้คนที่ไม่ติดเชื้อถูกแยกออกไปด้วย - หรือที่เรียกว่าผลบวกลวง ซึ่งจะทำให้ต้นทุนทางสังคมเพิ่มขึ้น แต่ยังสามารถหยุดยั้งการระบาดได้ นอกจากนี้ เราก็ยอมให้มีผลลบลวงจำนวนหนึ่งได้เช่นกัน ตราบเท่าที่อัตราส่วนของผู้ที่มีผลลบลวงยังน้อยพอ เมื่อเวลาผ่านไปจำนวนของผู้ป่วยรายใหม่ก็จะน้อยลงเรื่อย ๆ และการระบาดก็ลดลงอย่างทวีคูณ ยิ่งผู้ติดเชื้อแพร่เชื้อได้มากเท่าใด (อัตราการติดเชื้อหรืออัตราการแพร่เชื้อเมื่อไม่มีการตรวจเชื้อ) เราก็ยิ่งยินยอมให้มีผลลบลวงได้น้อยลงเท่านั้น

ยิ่งเราแยกผู้ที่อาจจะติดเชื้อได้จำเพาะเจาะจงเท่าใดก็ยิ่งดีเท่านั้น เพราะจำนวนผู้ป่วยที่ต้องกักตัวจะลดลง ในทางกลับกัน ยิ่งมีผู้ติดเชื้อที่หลุดรอดจากการคัดกรองน้อยลงเท่าใด โรคระบาดก็ยิ่งยุติลงเร็วเท่านั้น และจำนวนผู้ที่ล้มป่วยและเสียชีวิตก็จะลดลง แม้เราจะต้องแยกกักตัวบุคคลมากขึ้นก็ตาม

เราจะหยุดยั้งการระบาดโดยอาศัยแนวคิดนี้ได้อย่างไร มาดูตัวอย่างกัน :

  • เข้าไปรายงานตัวด้วยตนเองและเข้ารับการวินิจฉัย: ในวิธีนี้ ผู้ป่วยจะต้องรู้สึกตัวว่ามีอาการที่ต้องได้รับการรักษาก่อน จึงจะเข้าไปรายงานตัวต่อแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย และหากพบว่าพวกเขาติดเชื้อดังกล่าว (ซึ่งอาจมีผลบวกลวงและผลลบลวงบ้าง) พวกเขาก็ต้องถูกแยกออกไปกักตัว ผู้ที่ป่วยแต่ไม่ไปรายงานตัวเองถือเป็นผลลบลวง ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อทั้งที่ไม่มีเชื้อถือเป็นผลบวกลวง โดยทั่วไปแล้ว ปัญหาหลักอยู่ที่กลุ่มผลลบลวงอันเกิดจากการเข้าไปรายงานตัวด้วยตนเอง: คือผู้ที่ป่วยแต่ไม่รู้ตัว และไม่ได้เข้าไปรายงานตัว ซึ่งอาจเป็นเพราะอาการที่เกิดนั้นเป็นอาการทั่วๆ ไปที่ไม่จำเพาะต่อโรค หรือไม่ได้คุกคามชีวิตอย่างเร่งด่วน อีกความเป็นไปได้คือ ผู้ป่วยอาจสงสัยว่าพวกเขาติดเชื้อ แต่ด้วยเหตุผลส่วนตัวด้านการเงิน สังคม หรือหน้าที่การงาน กลับเลือกที่จะไม่เข้ารับการวินิจฉัย หรือไม่มีโอกาสที่จะเข้ารับการวินิจฉัยและคัดแยกออกไป (ยังมีประเด็นอื่นๆ อีก เป็นต้นว่าการเข้ารับการตรวจ การตรวจ และการแยกผู้ป่วยออกไปกักตัวจะนำไปสู่ผู้ป่วยรายใหม่หรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น การติดเชื้อระหว่างเดินทางหรือในห้องรอแพทย์ และความสำเร็จของการแยกผู้ป่วยไปกักตัวไว้)
  • การตามรอยเส้นทางการพบปะติดต่อ: หากใช้วิธีนี้ บุคคลที่ติดต่อกับบุคคลที่ได้รับการวินิจฉัย (จากการเข้าไปรายงานตัวด้วยตนเองและเข้ารับการวินิจฉัย) จะถูกระบุตัวและได้รับการแจ้งให้คอยสังเกตอาการหรือแยกออกไปกักตัวเองทันที ต่อให้คนเหล่านั้นไม่ติดเชื้อ การกักตัวเองนี้ (รวมถึงผู้ที่ไม่ได้ติดเชื้อจริงๆ เช่น ผู้ที่มีผลบวกลวง) ก็ถูกนำมาใช้เพื่อหยุดการระบาดอยู่ดี  
  • การปิดพื้นที่ (lockdown)— ตามชุมชนเชิงภูมิศาสตร์: วิธีการนี้จะถือว่าสมาชิกทั้งหมดในชุมชนเชิงภูมิศาสตร์ในพื้นที่ที่มีการติดเชื้อมีโอกาสที่จะติดเชื้อแล้วจึงต้องถูกแยกออกไป กรณีนี้จะมีผลบวกลวงจำนวนมาก แต่ก็สามารถหยุดยั้งโรคระบาดได้ 
  • การตรวจอาการโดยทั่วไปของคนในละแวกบ้าน: ด้วยวิธีนี้ สมาชิกทุกคนในชุมชนเชิงภูมิศาสตร์ของบุคคลที่ติดเชื้อจะได้รับการตรวจหาอาการต่างๆ เช่น ไข้ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับโรคดังกล่าว แต่ก็อาจเกี่ยวข้องกับโรคอื่นๆ ได้เช่นกัน จากนั้นจึงถือว่าผู้ที่มีอาการที่ว่ามีโอกาสที่จะติดเชื้อและต้องถูกแยกออกไป ข้อได้เปรียบของวิธีนี้ เมื่อเทียบกับการปิดพื้นที่คือจำนวนคนที่ต้องแยกไปกักตัวจะน้อยกว่า จึงลดต้นทุนทางสังคม ส่วนข้อได้เปรียบเหนือวิธีวินิจฉัยที่เฉพาะเจาะจงกว่านี้ก็คือ จำนวนของบุคคลที่ติดเชื้อและถูกแยกออกไปจะเพิ่มขึ้นมาก วิธีนี้ถูกนำไปใช้เพื่อหยุดยั้งการระบาดของโรคอีโบลาในประเทศไลบีเรียและประเทศเซียร์ราลีโอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ [1]
  • การตรวจแบบจำเพาะเจาะจงในวงกว้าง: วิธีนี้จะใช้การตรวจดีเอ็นเอหรือการตรวจที่จำเพาะเจาะจงอื่นๆ ในประชากรเป็นวงกว้าง โดยอาจเน้นไปที่พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่เฉพาะเจาะจงเพื่อระบุกรณีที่อาจเป็นไปได้ หากการทดสอบนั้นมีความจำเพาะเพียงพอและสามารถนำไปใช้ได้อย่างกว้างขวาง วิธีนี้สามารถหยุดการระบาดได้ 
  • การสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดเป้าหมาย: สำหรับวิธีนี้ บุคคลในกลุ่มประชากรที่มีความเกี่ยวพันกันสูง เช่น ในชุมชนปิด เป็นต้นว่าเรือนจำ หอพัก โฮสเทล สถานพักฟื้น สถานบำบัด วอร์ดผู้ป่วยจิตเวช สถานพยาบาล หรือชุมชนเกษียณอายุ จะได้รับการตรวจวินิจฉัยหรือตรวจดีเอ็นเอ ในสถานที่เหล่านี้ เมื่อบุคคลหนึ่งติดเชื้อ ก็มีโอกาสที่บุคคลอีกจำนวนมากจะติดเชื้อไปด้วย แม้จะยังไม่แสดงอาการก็ตาม หรือไม่ก็อาจจะมีผลการทดสอบเป็นบวก ในกรณีดังกล่าว เราสามารถแยกทั้งชุมชนออกไปได้ (กักตัวแยกรายบุคคล ไม่ใช่กักรวมเป็นกลุ่ม) เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเพิ่มเติม 

โดยทั่วไปแล้ว เราจะเห็นว่าวิธีใดก็ตามที่ใช้ระบุตัวบุคคลที่ต้องแยกออกไปกักตัวได้ ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาจากอาการ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ หรือการทดสอบระดับโมเลกุล ที่สามารถระบุตัวผู้ติดเชื้อได้ แม้ว่าจะมีผลบวกลวงบ้าง แต่มีผลลบลวงน้อยพอ ล้วนหยุดยั้งการแพร่ระบาดได้ทั้งนั้น

นอกจากการตรวจบุคคลต่างๆ แล้ว อีกคำถามที่สำคัญคือเราจะทราบได้เร็วแค่ไหนว่าต้องแยกตัวสมาชิกคนใดคนหนึ่งของกลุ่มออกไป และระยะเวลาดังกล่าวจะส่งผลต่อผู้ติดเชื้อได้อย่างไร หากเราระบุตัวคนเหล่านั้นได้ก่อนที่พวกเขาสามารถแพร่เชื้อ หรือหลังเริ่มแพร่เชื้อเพียงไม่นาน ก็อาจสามารถยับยั้งการแพร่เชื้อได้มากพอที่จะหยุดยั้งโรคระบาดได้ ระยะเวลาสั้นๆ ที่พวกเขาแพร่เชื้อได้ก็คล้ายคลึงกับผลลบลวง ซึ่งส่งผลต่อจำนวนผู้ติดเชื้อและลดประสิทธิภาพในการหยุดยั้งการระบาดของการตรวจคัดกรอง ประเด็นเหล่านี้ทำให้การเร่งตรวจคัดกรองแต่เนิ่น ๆ และรวดเร็ว ไม่ว่าจะใช้วิธีคัดกรองจากอาการ พื้นที่เชิงภูมิศาสตร์ หรือโมเลกุลก็ตาม เป็นส่วนสำคัญที่จะบ่งชี้ว่าการตรวจมีประสิทธิภาพในการหยุดยั้งโรคระบาดหรือไม่ และจะมีผู้ป่วยรวมถึงผู้เสียชีวิตกี่ราย

ในกรณีของโรคโควิด-19 อันเป็นโรคระบาดของไวรัสโคโรนาที่เริ่มขึ้นในเมืองอู่ฮั่น มีวิธีการตรวจสอบดีเอ็นเอโดยใช้ตัวอย่างจากช่องจมูกหรือลำคอ ซึ่งสามารถระบุตัวผู้ติดเชื้อได้รวดเร็วเพียงพอที่จะลดอัตราการแพร่เชื้อได้อย่างมาก หากแยกผู้ที่มีผลตรวจเป็นบวกออกไปได้ การตรวจในปัจจุบันต้องใช้เวลาหลายวันกว่าจะได้ผลลัพธ์ การตรวจที่รวดเร็วกว่านี้อยู่ในขั้นตอนการพัฒนา

ในช่วงต้นของการระบาด จำนวนชุดทดสอบนั้นมีจำกัดเป็นอย่างยิ่ง จึงจำเป็นต้องใช้วิธีแยกกักทั้งชุมชน จีนใช้วิธีนี้ร่วมกับการตามรอยเส้นทางการพบปะติดต่อในกลุ่มคนขนาดใหญ่ (670,000 คน) [2] และประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง จากนั้นเกาหลีใต้ก็ได้ใช้วิธีปิดเมือง [3] ร่วมกับการตรวจหาเชื้อในวงกว้าง ซึ่งรวมถึงการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนขับรถเข้ามาแวะตรวจได้ [4] และเมื่อไม่นานมานี้ ก็มีหลักฐานบ่งชี้ว่าการระบาดในเกาหลีใต้อยู่ในสถานะที่ควบคุมได้แล้ว [5]

ขณะนี้ หลายประเทศทั่วโลก รวมถึงสหรัฐอเมริกา ยังมีชุดตรวจไม่เพียงพอที่จะทำการทดสอบในวงกว้าง และนี่ก็คือข้อจำกัดในการใช้วิธีนี้ ถึงกระนั้นก็เป็นไปได้ที่จะพัฒนาวิธีตรวจสอบที่รวดเร็วและมีราคาถูกเพื่อนำไปใช้ในวงกว้าง และลดความจำเป็นในการใช้วิธีการอื่น ๆ เช่นการปิดเมือง เมื่อมีชุดตรวจจำนวนมาก การตรวจที่จำเพาะเจาะจงในวงกว้าก็จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายที่ต้องการในการหยุดยั้งโรคระบาดได้

แล้วเราควรจะทำอย่างไรบ้าง การชะลอหรือหยุดยั้งโรคระบาดไวรัสโคโรนาสามารถทำได้หลายวิธีร่วมกัน บุคคล ครอบครัว และชุมชนควรระมัดระวังตนให้มาก เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเชื้อ และลดโอกาสที่ตนเองและผู้อื่นจะติดเชื้อ ในขณะเดียวกัน หน่วยงานสาธารณสุขควรเร่งกำลังการตรวจหาเชื้อ ด้วยการกำหนดคุณสมบัติขั้นต่ำและเปิดทางให้หลาย ๆ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์เข้าถึงการตรวจได้ หากเป็นไปได้ บริษัทหรือองค์กรพัฒนาเอกชนอาจให้บริการตรวจในสถานที่ที่สะดวกต่อประชาชน โดยอาจเป็นการตรวจตามบ้าน เช่นเดียวกับในช่วงท้ายๆ ของการระบาดในประเทศจีน [6] เพื่อระบุผู้ติดเชื้อให้รวดเร็ว

เอกสารอ้างอิง

  1. How community response stopped ebola
  2. Report of the WHO-China Joint Mission on Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)
  3. Daegu in Lockdown as Coronavirus Infections Soar
  4. South Korea pioneers coronavirus drive-through testing station
  5. BREAKING: Coronavirus Update. Significant decline in daily new cases in South Korea--positive sign of gaining control.
  6. China Goes Door to Door in Wuhan, Seeking Infections

การตรวจบุคคลในวงกว้างสามารถหยุดการระบาดของไวรัสโคโรนาได้

Chen Shen และ Yaneer Bar-Yam การตรวจหาเชื้อในวงกว้างสามารถหยุดยั้งการระบาดของไวรัสโคโรนาได้ New England Complex Systems Institute (6 มีนาคม 2563)

โรคจะหยุดระบาดก็ต่อเมื่อเราหยุดการแพร่เชื้อโรคได้ กลยุทธ์สำคัญคือการระบุตัวบุคคลที่ติดโรคและแยกพวกเขาออกไปเพื่อไม่ให้ผู้อื่นติดเชื้อ การทดสอบที่ไม่สมบูรณ์อาจทำให้คนที่ไม่ติดเชื้อถูกแยกออกไปด้วย - หรือที่เรียกว่าผลบวกลวง ซึ่งจะทำให้ต้นทุนทางสังคมเพิ่มขึ้น แต่ยังสามารถหยุดยั้งการระบาดได้ นอกจากนี้ เราก็ยอมให้มีผลลบลวงจำนวนหนึ่งได้เช่นกัน ตราบเท่าที่อัตราส่วนของผู้ที่มีผลลบลวงยังน้อยพอ เมื่อเวลาผ่านไปจำนวนของผู้ป่วยรายใหม่ก็จะน้อยลงเรื่อย ๆ และการระบาดก็ลดลงอย่างทวีคูณ ยิ่งผู้ติดเชื้อแพร่เชื้อได้มากเท่าใด (อัตราการติดเชื้อหรืออัตราการแพร่เชื้อเมื่อไม่มีการตรวจเชื้อ) เราก็ยิ่งยินยอมให้มีผลลบลวงได้น้อยลงเท่านั้น

ยิ่งเราแยกผู้ที่อาจจะติดเชื้อได้จำเพาะเจาะจงเท่าใดก็ยิ่งดีเท่านั้น เพราะจำนวนผู้ป่วยที่ต้องกักตัวจะลดลง ในทางกลับกัน ยิ่งมีผู้ติดเชื้อที่หลุดรอดจากการคัดกรองน้อยลงเท่าใด โรคระบาดก็ยิ่งยุติลงเร็วเท่านั้น และจำนวนผู้ที่ล้มป่วยและเสียชีวิตก็จะลดลง แม้เราจะต้องแยกกักตัวบุคคลมากขึ้นก็ตาม

เราจะหยุดยั้งการระบาดโดยอาศัยแนวคิดนี้ได้อย่างไร มาดูตัวอย่างกัน :

  • เข้าไปรายงานตัวด้วยตนเองและเข้ารับการวินิจฉัย: ในวิธีนี้ ผู้ป่วยจะต้องรู้สึกตัวว่ามีอาการที่ต้องได้รับการรักษาก่อน จึงจะเข้าไปรายงานตัวต่อแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย และหากพบว่าพวกเขาติดเชื้อดังกล่าว (ซึ่งอาจมีผลบวกลวงและผลลบลวงบ้าง) พวกเขาก็ต้องถูกแยกออกไปกักตัว ผู้ที่ป่วยแต่ไม่ไปรายงานตัวเองถือเป็นผลลบลวง ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อทั้งที่ไม่มีเชื้อถือเป็นผลบวกลวง โดยทั่วไปแล้ว ปัญหาหลักอยู่ที่กลุ่มผลลบลวงอันเกิดจากการเข้าไปรายงานตัวด้วยตนเอง: คือผู้ที่ป่วยแต่ไม่รู้ตัว และไม่ได้เข้าไปรายงานตัว ซึ่งอาจเป็นเพราะอาการที่เกิดนั้นเป็นอาการทั่วๆ ไปที่ไม่จำเพาะต่อโรค หรือไม่ได้คุกคามชีวิตอย่างเร่งด่วน อีกความเป็นไปได้คือ ผู้ป่วยอาจสงสัยว่าพวกเขาติดเชื้อ แต่ด้วยเหตุผลส่วนตัวด้านการเงิน สังคม หรือหน้าที่การงาน กลับเลือกที่จะไม่เข้ารับการวินิจฉัย หรือไม่มีโอกาสที่จะเข้ารับการวินิจฉัยและคัดแยกออกไป (ยังมีประเด็นอื่นๆ อีก เป็นต้นว่าการเข้ารับการตรวจ การตรวจ และการแยกผู้ป่วยออกไปกักตัวจะนำไปสู่ผู้ป่วยรายใหม่หรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น การติดเชื้อระหว่างเดินทางหรือในห้องรอแพทย์ และความสำเร็จของการแยกผู้ป่วยไปกักตัวไว้)
  • การตามรอยเส้นทางการพบปะติดต่อ: หากใช้วิธีนี้ บุคคลที่ติดต่อกับบุคคลที่ได้รับการวินิจฉัย (จากการเข้าไปรายงานตัวด้วยตนเองและเข้ารับการวินิจฉัย) จะถูกระบุตัวและได้รับการแจ้งให้คอยสังเกตอาการหรือแยกออกไปกักตัวเองทันที ต่อให้คนเหล่านั้นไม่ติดเชื้อ การกักตัวเองนี้ (รวมถึงผู้ที่ไม่ได้ติดเชื้อจริงๆ เช่น ผู้ที่มีผลบวกลวง) ก็ถูกนำมาใช้เพื่อหยุดการระบาดอยู่ดี  
  • การปิดพื้นที่ (lockdown)— ตามชุมชนเชิงภูมิศาสตร์: วิธีการนี้จะถือว่าสมาชิกทั้งหมดในชุมชนเชิงภูมิศาสตร์ในพื้นที่ที่มีการติดเชื้อมีโอกาสที่จะติดเชื้อแล้วจึงต้องถูกแยกออกไป กรณีนี้จะมีผลบวกลวงจำนวนมาก แต่ก็สามารถหยุดยั้งโรคระบาดได้ 
  • การตรวจอาการโดยทั่วไปของคนในละแวกบ้าน: ด้วยวิธีนี้ สมาชิกทุกคนในชุมชนเชิงภูมิศาสตร์ของบุคคลที่ติดเชื้อจะได้รับการตรวจหาอาการต่างๆ เช่น ไข้ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับโรคดังกล่าว แต่ก็อาจเกี่ยวข้องกับโรคอื่นๆ ได้เช่นกัน จากนั้นจึงถือว่าผู้ที่มีอาการที่ว่ามีโอกาสที่จะติดเชื้อและต้องถูกแยกออกไป ข้อได้เปรียบของวิธีนี้ เมื่อเทียบกับการปิดพื้นที่คือจำนวนคนที่ต้องแยกไปกักตัวจะน้อยกว่า จึงลดต้นทุนทางสังคม ส่วนข้อได้เปรียบเหนือวิธีวินิจฉัยที่เฉพาะเจาะจงกว่านี้ก็คือ จำนวนของบุคคลที่ติดเชื้อและถูกแยกออกไปจะเพิ่มขึ้นมาก วิธีนี้ถูกนำไปใช้เพื่อหยุดยั้งการระบาดของโรคอีโบลาในประเทศไลบีเรียและประเทศเซียร์ราลีโอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ [1]
  • การตรวจแบบจำเพาะเจาะจงในวงกว้าง: วิธีนี้จะใช้การตรวจดีเอ็นเอหรือการตรวจที่จำเพาะเจาะจงอื่นๆ ในประชากรเป็นวงกว้าง โดยอาจเน้นไปที่พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่เฉพาะเจาะจงเพื่อระบุกรณีที่อาจเป็นไปได้ หากการทดสอบนั้นมีความจำเพาะเพียงพอและสามารถนำไปใช้ได้อย่างกว้างขวาง วิธีนี้สามารถหยุดการระบาดได้ 
  • การสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดเป้าหมาย: สำหรับวิธีนี้ บุคคลในกลุ่มประชากรที่มีความเกี่ยวพันกันสูง เช่น ในชุมชนปิด เป็นต้นว่าเรือนจำ หอพัก โฮสเทล สถานพักฟื้น สถานบำบัด วอร์ดผู้ป่วยจิตเวช สถานพยาบาล หรือชุมชนเกษียณอายุ จะได้รับการตรวจวินิจฉัยหรือตรวจดีเอ็นเอ ในสถานที่เหล่านี้ เมื่อบุคคลหนึ่งติดเชื้อ ก็มีโอกาสที่บุคคลอีกจำนวนมากจะติดเชื้อไปด้วย แม้จะยังไม่แสดงอาการก็ตาม หรือไม่ก็อาจจะมีผลการทดสอบเป็นบวก ในกรณีดังกล่าว เราสามารถแยกทั้งชุมชนออกไปได้ (กักตัวแยกรายบุคคล ไม่ใช่กักรวมเป็นกลุ่ม) เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเพิ่มเติม 

โดยทั่วไปแล้ว เราจะเห็นว่าวิธีใดก็ตามที่ใช้ระบุตัวบุคคลที่ต้องแยกออกไปกักตัวได้ ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาจากอาการ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ หรือการทดสอบระดับโมเลกุล ที่สามารถระบุตัวผู้ติดเชื้อได้ แม้ว่าจะมีผลบวกลวงบ้าง แต่มีผลลบลวงน้อยพอ ล้วนหยุดยั้งการแพร่ระบาดได้ทั้งนั้น

นอกจากการตรวจบุคคลต่างๆ แล้ว อีกคำถามที่สำคัญคือเราจะทราบได้เร็วแค่ไหนว่าต้องแยกตัวสมาชิกคนใดคนหนึ่งของกลุ่มออกไป และระยะเวลาดังกล่าวจะส่งผลต่อผู้ติดเชื้อได้อย่างไร หากเราระบุตัวคนเหล่านั้นได้ก่อนที่พวกเขาสามารถแพร่เชื้อ หรือหลังเริ่มแพร่เชื้อเพียงไม่นาน ก็อาจสามารถยับยั้งการแพร่เชื้อได้มากพอที่จะหยุดยั้งโรคระบาดได้ ระยะเวลาสั้นๆ ที่พวกเขาแพร่เชื้อได้ก็คล้ายคลึงกับผลลบลวง ซึ่งส่งผลต่อจำนวนผู้ติดเชื้อและลดประสิทธิภาพในการหยุดยั้งการระบาดของการตรวจคัดกรอง ประเด็นเหล่านี้ทำให้การเร่งตรวจคัดกรองแต่เนิ่น ๆ และรวดเร็ว ไม่ว่าจะใช้วิธีคัดกรองจากอาการ พื้นที่เชิงภูมิศาสตร์ หรือโมเลกุลก็ตาม เป็นส่วนสำคัญที่จะบ่งชี้ว่าการตรวจมีประสิทธิภาพในการหยุดยั้งโรคระบาดหรือไม่ และจะมีผู้ป่วยรวมถึงผู้เสียชีวิตกี่ราย

ในกรณีของโรคโควิด-19 อันเป็นโรคระบาดของไวรัสโคโรนาที่เริ่มขึ้นในเมืองอู่ฮั่น มีวิธีการตรวจสอบดีเอ็นเอโดยใช้ตัวอย่างจากช่องจมูกหรือลำคอ ซึ่งสามารถระบุตัวผู้ติดเชื้อได้รวดเร็วเพียงพอที่จะลดอัตราการแพร่เชื้อได้อย่างมาก หากแยกผู้ที่มีผลตรวจเป็นบวกออกไปได้ การตรวจในปัจจุบันต้องใช้เวลาหลายวันกว่าจะได้ผลลัพธ์ การตรวจที่รวดเร็วกว่านี้อยู่ในขั้นตอนการพัฒนา

ในช่วงต้นของการระบาด จำนวนชุดทดสอบนั้นมีจำกัดเป็นอย่างยิ่ง จึงจำเป็นต้องใช้วิธีแยกกักทั้งชุมชน จีนใช้วิธีนี้ร่วมกับการตามรอยเส้นทางการพบปะติดต่อในกลุ่มคนขนาดใหญ่ (670,000 คน) [2] และประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง จากนั้นเกาหลีใต้ก็ได้ใช้วิธีปิดเมือง [3] ร่วมกับการตรวจหาเชื้อในวงกว้าง ซึ่งรวมถึงการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนขับรถเข้ามาแวะตรวจได้ [4] และเมื่อไม่นานมานี้ ก็มีหลักฐานบ่งชี้ว่าการระบาดในเกาหลีใต้อยู่ในสถานะที่ควบคุมได้แล้ว [5]

ขณะนี้ หลายประเทศทั่วโลก รวมถึงสหรัฐอเมริกา ยังมีชุดตรวจไม่เพียงพอที่จะทำการทดสอบในวงกว้าง และนี่ก็คือข้อจำกัดในการใช้วิธีนี้ ถึงกระนั้นก็เป็นไปได้ที่จะพัฒนาวิธีตรวจสอบที่รวดเร็วและมีราคาถูกเพื่อนำไปใช้ในวงกว้าง และลดความจำเป็นในการใช้วิธีการอื่น ๆ เช่นการปิดเมือง เมื่อมีชุดตรวจจำนวนมาก การตรวจที่จำเพาะเจาะจงในวงกว้าก็จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายที่ต้องการในการหยุดยั้งโรคระบาดได้

แล้วเราควรจะทำอย่างไรบ้าง การชะลอหรือหยุดยั้งโรคระบาดไวรัสโคโรนาสามารถทำได้หลายวิธีร่วมกัน บุคคล ครอบครัว และชุมชนควรระมัดระวังตนให้มาก เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเชื้อ และลดโอกาสที่ตนเองและผู้อื่นจะติดเชื้อ ในขณะเดียวกัน หน่วยงานสาธารณสุขควรเร่งกำลังการตรวจหาเชื้อ ด้วยการกำหนดคุณสมบัติขั้นต่ำและเปิดทางให้หลาย ๆ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์เข้าถึงการตรวจได้ หากเป็นไปได้ บริษัทหรือองค์กรพัฒนาเอกชนอาจให้บริการตรวจในสถานที่ที่สะดวกต่อประชาชน โดยอาจเป็นการตรวจตามบ้าน เช่นเดียวกับในช่วงท้ายๆ ของการระบาดในประเทศจีน [6] เพื่อระบุผู้ติดเชื้อให้รวดเร็ว

เอกสารอ้างอิง

  1. How community response stopped ebola
  2. Report of the WHO-China Joint Mission on Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)
  3. Daegu in Lockdown as Coronavirus Infections Soar
  4. South Korea pioneers coronavirus drive-through testing station
  5. BREAKING: Coronavirus Update. Significant decline in daily new cases in South Korea--positive sign of gaining control.
  6. China Goes Door to Door in Wuhan, Seeking Infections